ประวัติความเป็นมาบ้านท่าเรือ
บ้านท่าเรือ เดิม เรียกว่า บ้านแต้ ในราวเมื่อปี พ.ศ.2435 ได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่ง จำนวน 30 คน นำโดยนายไชยราช, นายศรีวงษา ได้อพยพมาจากหมู่บ้านไร่อีเป (อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น) เนื่องจากหมู่บ้านเดิมเป็นหมู่บ้านแห้งแล้งขาดน้ำกินน้ำใช้ ทำไร่ ทำนา ไม่ได้ผล อีกทั้งยังได้ทราบข่าวว่าบ้านนาซ่อมซึ่งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำอูน น้ำก่ำ น้ำสงคราม เป็นที่อุดมสมบรูณ์มีพื้นที่ทำกินกว้างขวาง
สภาพทางภูมิศาสตร์พื้นที่
บ้านท่าเรือ มีระยะทางห่างจากอำเภอนาหว้า ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีสภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง และป่าละเมาะอยู่กระจัดกระจายทั่วไป ประมาณ 2 % ของพื้นที่ทั้งหมด บางพื้นที่เป็นที่ราบสูงประมาณ 10 – 20 เมตร เรียงรายตามลุ่มแม่น้ำทางทิศตะวันตก และเป็นแหล่งดินเค็มมีเกลือปนอยู่ประมาณ 50 % (เป็นแหล่งดินเค็มที่สุดของจังหวัดนครพนม)
ประวัติความเป็นมาของแคนชาวอีสาน
แคน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้
ประวัติแคนบ้านท่าเรือ
ประวัตินายคำโลน หรือนายโลน แสนสุริยวงค์ ช่างทำแคนคนแรกนายคำโลน หรือนายโลน แสนสุริยวงค์ ทำแคน ดี ดังสวย ชาวบ้านเลยตั้งชื่อเพิ่มใหม่เป็น (ฟ้าคำโลน) เป็นบุตรของนายชิน นางมั่น แสนสุริยวงค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2451 ที่บ้านยอดชาติ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เมื่ออายุยังเด็กได้เดินทางติดตามคุณพ่อคุณแม่ มาอยู่ที่บ้านหนองแต้ (บ้านท่าเรือปัจจุบัน) อำเภอนาหว้า เมื่ออายุได้ 15 ปี ก็ได้กลับคืนไปอยู่บ้านเดิมที่อำเภอนาแก และได้ชวนพรรคพวกไปด้วยกัน 2 คน คือนายลอง นายไกร แมดมิ่งเหง้า ขณะที่อยู่บ้านทั้ง 3 คน ได้เล่าเรียนวิชาเป่าแคนดนตรี
สนใจสินค้าติดต่อที่... 0894226683 สนใจสินค้าติดต่อที่... 0894226683
ประกาศขณะนี้ระบบ.......
WWW.can-dd.com ได้ทำการปรับปรุงใหม่หน้าเว็บไซต์ใหม่
ลูกค้าท่านใดสนใจสินค้ากรุณาติดต่อที่...
0894226683 หรือ เพจขาายเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานบ้านท่าเรือ
โดยช่างสืบศักดิ์
https://www.facebook.com/sellkaenbantharue
ต้องอภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วย